Oo~About us~oO

รูปภาพของฉัน
เราพร้อมที่จะทำงานเพื่อฟื้นฟูอิสลามภายใต้พันธกิจที่ว่า"จงมุ่งมั่นสู่การปฏิรูปตนเอง และเรียกร้องเชิญชวนผู้อื่นสู่การยอมจำนนต่ออัลลอฮฺ"

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เจ้าคือผู้สูงส่ง

หากอัลลอฮให้เจ้าเป็นคนเก่ง เจ้าจงย้ำเกรงต่อพระองค์
หากอัลลอฮให้เจ้ามีเกียรติอันสูงส่ง เจ้าอย่าทะนงและถือดี
หากอัลลอฮให้เจ้าเป็นผู้มั่งมี เจ้าจงอย่าย่ำยี เหยียดหยามคนจน
หากอัลลอฮให้เจ้าเป็นผู้ขัดสน เจ้าจงอดทนและศรัทธา
หากอัลลอฮให้เจ้าเป็นคนกล้า เจ้าจงหาญกล้าต่อเหล่าศัตรู
หากอัลลอฮให้เจ้าเป็นผู้รู้ เจ้าจงต่อสู้เพื่อสัจธรรม
หากอัลลอฮให้เจ้าเป็นผู้ฉลาด เจ้าจงเป็นนักปราชญ์ของท่านศาสดา
หากอัลลอฮให้เจ้าเป็นผู้อ่อนแอ เจ้าจงอย่าท้อแท้และอย่าระทม เจ้าจะเป็นผู้สูงส่ง

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

จงระลึกถึงอัลอฮ(ซ.บ.)ตลอดเวลา ด้วยคำกล่าวดังนี้‏

เมื่อจะเริ่มทำสิ่งใดก็ตาม บิสมิลลาฮฺ *ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ
เมื่อตั้งใจจะทำสิ่งใดก็ตาม อินชาอัลลอฮ *หากอัลลอฮฺทรงประสงค์
เมื่อกระทำสิ่งใดที่ควรได้รับการสรรเสริญ ซุบฮานัลลอฮฺ *อัลลอฮฺผู้ทรงบริสุทธิ
เมื่อเจ็บป่วยหรือมีความทุกข์ ยาอัลลอฮฺ *โอ้อัลลอฮฺ
เมื่อรู้สึกยินดีในสิ่งใดๆ มาชาอัลลอฮฺ *พระประสงค์ของอัลลอฮฺ
เมื่อขอบคุณผู้ใดในเรื่องต่างๆ ญะซากัลลอฮฺฮู่คอยรอน *ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนท่าน
เมื่อตื่นนอน ลาอิลาฮา อิลลัลลอฮฺ *ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ
เมื่อตนเองจาม อัลฮัมดุลิลลาฮฺ *บรรดาสรรเสริญ เป็นของอัลลอฮฺ
เมื่อผู้อื่นจาม ยัรฮัมมูกัลลอฮฺ *ขออัลลอฮฺ ทรงเมตตาท่าน
เมื่อสำนึกผิดจากการกระทำบาป อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ *ฉันขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ
เมื่อให้คสาบานในเรื่องใด วัลลอฮิ วะบิลลาฮฺ *ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ
เมื่อบริจาคทาน ฟีซะบี่ลิลลาฮฺ *ในหนทางของอัลลอฮฺ
เมื่อเกิดความรักกับผู้ใด ลิฮุบ บิลลาฮฺ *รักเพื่ออัลลอฮฺ
เมื่อจากกัน ฟีอะมานิลลาฮฺ *ขออัลลอฮฺ ทรงคุ้มครอง
เมื่อมีปัญหาใดเกิดขึ้น ตะวัก กัลตุ อะลัลลอฮฺ *ฉันขอมอบหมายแก่อัลลอฮฺ
เมื่อเกิดความปิติยินดี ฟะ ตาบาร่อกัลลอฮฺ *อัลลอฮฺ ทรงจำเริญ
เมื่อประสบสิ่งไม่พึงปราถนา น่าอูซุบิลลาฮฺ *เราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ
เมื่อขอพรร่วมกัน อามีน *ขออัลลอฮฺทรงโปรดเถิด
เมื่อแต่งงาน อามัน ตุ บิลลาฮฺ *ฉันศรัทธาต่ออัลลอฮฺ
เมื่อได้รับข่าวการตายของผู้ใด อินนา ลิลลาฮิ วะอินนา อิลัยฮิ รอญิอูน
*แท้จริงเราเป็นสิทธิ์แห่งอัลลอฮฺและเราต้องกลับสู่พระองค์


วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แบบอย่างของท่านรอซูลในการปฏิสัมพันธ์กับยิว


هدي النبي صلى الله عليه وسلم في معاملة اليهود
แบบอย่างของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในการปฏิสัมพันธ์กับยิว

แปล: ยูซุฟ อบูบักรฺ
ترجمة: يوسف أبوبكر
ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี
مراجعة: فيصل عبدالهادي
คำถาม : แบบอย่างของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ปฏิบัติกับชาวยิวเป็น
อย่างไร ?
คำตอบ : อัลหัมดุลิลลาฮฺ แท้จริงคำพูดที่ประเสริฐที่สุด คือ คำดำรัสแห่งอัลลอฮฺ ทางนำที่ดีที่สุด คือทางนำของนบี
มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านเป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์เพียบพร้อมมากที่สุด เป็นผู้นำแห่งบรรดาศาสนทูต ท่านได้ใช้พวกเราให้ยึดมั่นต่อทางนำของท่าน โดยที่ท่านได้กล่าวว่า:
“พวกท่านจงยึดมั่นต่อแบบอย่างของฉันเถิด”
(บันทึกโดย อบูดาวูด หมายเลข 4607, รับรองความถูกต้องโดย เชคอัล-อัลบานีย์
ในหนังสือเศาะฮีหฺอบูดาวูด)
โดยที่ท่านได้เป็นทางนำและแบบอย่างในสภาพการณ์ที่ดีที่สุด และมีจริยวัตรอันเที่ยงตรงที่สุด โดยเฉพาะการปฏิสัมพันธ์ของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กับชนต่างศาสนิก และเราสามารถกล่าวอย่างคร่าว ๆ ถึงแนวทางของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ในการปฏิสัมพันธ์กับชาวยิว ได้ดังต่อไปนี้

1. ยึดมั่นจุดยืนที่ถูกต้องต่อชาวยิวและรวมถึงศาสนาอื่นทั้งหมด จุดยืนอันนี้แสดงถึงหลักการเชื่อมั่นที่ถูกต้องของศาสนาอิสลามและการศรัทธาในเอกภาพแห่งอัลลอฮฺ ส่วนศาสนาอื่นนอกจากนี้ถือว่าเป็นที่มาของการสร้างความเสี่อมเสียและเป็นกุฟรฺ พร้อมทั้งยืนยันอย่างหนักแน่นว่าในวันกิยามะฮฺอัลลอฮฺจะไม่ตอบรับบ่าวคนใดนอกจากบ่าวมุสลิมที่ยอมจำนนต่อพระองค์ ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
ความว่า “และผู้ใดที่แสวงหาศาสนาอี่นนอกจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นจะไม่ถูกตอบรับโดยเด็ดขาด และในวันอาคิเราะฮฺเขาจะอยู่ในกลุ่มของบรรดาผู้ที่ขาดทุน“ (อาละ อิมรอน : 85)
แน่นอนการยืนยันต่อสิ่งนี้เป็นบรรทัดฐานที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ดำเนินใน
การดะวะฮฺของท่านและจำเป็นต้องยึดเอาจุดยืนต่างๆ ปฏิบัติตามแนวทางของท่าน เพราะว่ามันเป็นความจำเป็นต่อหลักอะกีดะฮฺของมุสลิม โดยเฉพาะในยุคสมัยสุดท้ายที่ถูกนำมาเสนอเพื่อบิดเบือนสร้างความหม่นหมองจากบรรดานักเผยแผ่ที่เรียกร้องไปสู่ “ความเป็นหนึ่งเดียวของศาสนา” ดูรายละเอียดคำตอบในเรื่องนี้ในคำถาม (หมายเลข 21534)

2. ด้วยเหตุผลดังกล่าว ท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ให้ความสำคัญในการเชิญ
ชวนพวกเขาสู่อิสลาม ท่านจะไม่ปล่อยโอกาสในการเผยแผ่ไปสู่ศาสนาของอัลลอฮฺได้สูญหาย ยกเว้นท่านจะต้องกระทำมัน ท่านจะไม่เริ่มต้นด้วยกับการสู้รบกับพวกเขา - จากสาเหตุการคดโกงหรือบิดพริ้ว - นอกจากท่านจะเชิญชวนและกล่าวตักเตือนพวกเขาก่อน ดั่งที่ท่านได้กล่าวกับอะลี อิบนิ อะบีฏอลิบ เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุ ในสมรภูมิค็อยบัรว่าความว่า “ท่านจงปฏิบัติอย่างใจเย็น จนกระทั่งท่านไปสู่สนามของพวกเขา หลังจากนั้นท่านจงเชิญชวนพวกเขาสู่อิสลามและจงบอกหน้าที่ที่จำเป็นต่อพวกเขา ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าการที่พระองค์อัลลอฮฺทรงให้ทางนำแก่ใครสักคนหนึ่งเพราะท่าน นับว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐแก่ท่านมากกว่าการได้รับอูฐสีแดง” (บันทึกโดย อัล-บุคอรี หมายเลข 2942, มุสลิมหมายเลข 2406 )

3. เน้นหนักการผูกมิตรและภักดี (วะลาอ์) ต่อบรรดาผู้ศรัทธาเท่านั้น และนับเป็นความจำเป็นในการแสดงตนให้บริสุทธิ์หรือการไม่ยอมรับ (บะรออ์) จากทุกการปฏิเสธ (กุฟรฺ) ที่ปรากฏชัดเจน ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้วางบรรทัดฐานของการเป็นพี่น้องร่วมอุดมการณ์อิสลามไม่เป็นที่อนุญาตให้แก่มุสลิมที่จะมอบความรักความใกล้ชิดให้แก่ชนต่างศาสนิก(เยี่ยงเดียวกันกับที่มอบให้กับผู้ศรัทธา) ด้วยเหตุนี้จะพบว่าท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านรีบจัดการตั้งแต่เริ่มแรกของการเดินทางมาถึงมะดีนะฮฺ มีการแยกออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างอิสลามกับยิว ดังที่มีปรากฏในสนธิสัญญา – ธรรมนูญ – ซึ่งท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้ใช้ให้มีการบันทึกเพื่อที่จัดระเบียบในการติดต่อสัมพันธ์ของประชากรชาวเมืองมะดีนะฮฺ
“ผู้ศรัทธาเป็นประชาชาติเดียวกัน ไม่ใช่กับบุคคลอื่น” บันทึกโดย อัลกอสิม อิบนิ สะลาม ใน
หนังสือ อัลอัมวาล (หมายเลข 517) จากมะรอสีล อัซซุฮฺรียฺ
ดร. อักรอม อัลอุมะรียฺ กล่าวว่า “มุอาคอฮฺ (การผูกญาติระหว่างมุฮาญิรีนและอันศอร) จำกัดอยู่เฉพาะมุสลิมเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงผู้อื่นไม่ว่าผู้นั้นเป็นยิวและบรรดาพันธมิตร และไม่มีข้อสงสัยเลยว่าการแบ่งความชัดเจนทางศาสนาเป็นเรื่องที่ต้องทำเพื่อไปสู่เป้าหมายเพื่อเพิ่มสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและความมีเกียรติยศศักดิ์ศรีในตัวของมันเอง” ดูรายละเอียดในหนังสือ “อัซซีเราะฮฺ อัลนะบะวียะฮฺ อัศศอฮีฮะฮฺ“ ของ ดร. อักรอม อัลอุมะรียฺ (1/272 – 291 ) โดยได้ขยายความและวิเคราะห์ไว้ในเรื่องข้อชี้ขาดของสนธิสัญญา


4. แต่ทว่าท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ยอมรับสิทธิในด้านต่างๆ ของชาวยิวและคริสเตียน ย่อมเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดของผู้ที่คิดว่า คำว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนายิวที่ถูกบิดเบือนแล้วจำเป็นต้องไปอธรรมและไม่เคารพสิทธิ เพราะแท้จริงท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ยอมรับการอยู่ร่วมกับชาวยิวในเมืองมะดีนะฮฺ ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้บันทึกไว้ในสนธิสัญญามะดีนะฮฺ “แท้จริงยิวจากบะนีเอาฟฺเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่อยู่พร้อมกับบรรดาผู้ศรัทธา” และท่านนบีได้ปกป้องสิทธิต่างๆ ให้แก่พวกเขา อาทิ ...
4.1 สิทธิในชีวิต ท่านไม่เคยทำการสู้รบกับยิวคนใดเลย นอกจากสู้รบกับผู้ที่ผิดสัญญา คดโกงบิดพลิ้ว
4.2 สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา กล่าวคือ ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ยอมรับให้พวกเขายังคงนับถือศาสนาเดิมและไม่ได้บังคับคนหนึ่งคนใดให้เข้าอิสลามสนองตอบคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่าความว่า “ไม่มีการบังคับในการนับถือศาสนา” ( อัลบะเกาะเราะฮฺ / 256 )ท่านได้บันทึกไว้ในสนธิสัญญามะดีนะฮฺว่า “สำหรับยิวมีศาสนาสำหรับพวกเขา และสำหรับมุสลิมตัวของพวกเขาเองและบริวารของพวกเขาก็มีศาสนา”
4.3 สิทธิในการครอบครอง ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่ได้ไปเพิกถอนกรรมสิทธิ์จากคนหนึ่งคนใดของพวกเขา ยิ่งกว่านั้นท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมยังยอมรับให้มีการทำธุรกิจหรือค้าขายระหว่างมุสลิมและยิว
4.4 สิทธิในการคุ้มครองดูแล ดังที่มีปรากฏในสนธิสัญญาว่า “สำหรับยิวต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูของพวกเขา สำหรับมุสลิมต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูของพวกเขา และแท้จริงระหว่างพวกเขาต้องช่วยเหลือกันกับผู้ที่มาสู้รบกับชาวสนธิสัญญาฉบับนี้”
4.5 สิทธิในการให้ความเป็นธรรมและขจัดความอธรรม ดังที่มีปรากฏสนธิสัญญามะดีนะฮฺว่า “ยิวคนใดที่ปฏิบัติตามสัญญาของเราเขาจะได้รับการช่วยเหลือและการปฏิบัติที่ดีโดยไม่ถูกอธรรม และไม่มีใครมาละเมิดได้” ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สร้างความเป็นธรรมในการตัดสินปัญหาถึงแม้ว่าทำให้มุสลิมต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบก็ตาม

ความว่า “เมื่อชาวคอยบัรได้ฆ่าอับดุลลอฮฺ บิน สะฮฺลิ เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮูท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่ได้ตัดสินให้เขาต้องจ่ายสินไหมทดแทน (ดียะฮฺ) และท่านก็ไม่ได้ลงโทษต่ออาชญากรรมที่พวกเขาได้ก่อขึ้น เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในที่สุดท่านได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากทรัพย์สินของมุสลิม” (บันทึกโดยอัล-บุคอรี หมายเลข
6769 และมุสลิม หมายเลข 1669)
“และเมื่ออัลอัชอัษ บินก็อยสฺได้เกิดข้อพิพาทกับชายชาวยิว ไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในกรณีที่ดินในเยเมน ในขณะที่เขาไม่มีหลักฐานอันใด ท่านได้ตัดสินที่ดินให้แก่ยิวโดยการให้เขาสาบาน” (บันทึกโดยอัลบุคอรี
หมายเลข 2525, และมุสลิมหมายเลข 138)
4.6 และยิ่งกว่านั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ยังได้ให้สิทธิในการตัดสินข้อพิพาทระหว่างพวกเขาตามกฎหมายของศาสนาพวกเขา และท่านก็ไม่ได้บังคับให้พวกเขาปฏิบัติตามกฏหมายของมุสลิม เมื่อใดที่เกิดกรณีพิพาทขึ้นระหว่างพวกเขาด้วยกัน นอกจากว่าเมื่อพวกเขาได้มาหาท่านและต้องการให้ท่านตัดสินปัญหา ท่านก็จะตัดสินด้วยกับหลักชะรีอะฮฺและศาสนาของมุสลิมหลีกเลี่ยงพวกเขาเสียและถ้าหากเจ้าหลีกเลี่ยงพวกเขา พวกเขาก็จะไม่ให้โทษแก่เจ้าได้แต่อย่างใดเลย และหากเจ้าตัดสินก็จงตัดสินระหว่างพวกเขาด้วยความยุติธรรม แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ที่มีความยุติธรรม” (อัลมาอิดะฮฺ / 42)

5. ปรากฏว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ปฏิบัติด้วยความดีงามกับมนุษย์ทุกคน และส่วนหนึ่งก็ปฏิบัติกับพวกยิว แท้จริงอัลลอฮฺได้สั่งให้มีความเป็นธรรมและประกอบความดีงาม ให้มีจรรยามารยาทที่ดีและคืนสิทธิให้แก่ชาวยิวและแก่คนอื่นๆ ดั่งที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่าความว่า “อัลลอฮฺมิได้ทรงห้ามพวกเขาเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้ที่มีความยุติธรรม” ( อัลมุมตะหะนะฮฺ : 8 )
และตัวอย่างส่วนหนึ่งจากความดีงามของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับชาวยิว อาทิ ...
5.1 ท่านไปเยี่ยมเยียนชาวยิวที่เจ็บป่วย อัล-บุคอรีได้รายงาน (หมายเลข 1356) จากอนัส
บิน มาลิก เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮู ความว่า “แท้จริงมีเด็กชาวยิวเคยรับใช้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้ล้มป่วย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มาเยี่ยมเขาโดยที่ท่านได้นั่งใกล้ศีรษะของเขาแล้วกล่าวว่า จงเข้ารับอิสลามเถิดจากนั้นเขาได้มองไปยังพ่อของเขา (เพื่อขอความคิดเห็น) พ่อของเขากล่าวว่า จงเชื่อฟังอบุลกอสิม ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วเขาก็
รับอิสลาม ต่อจากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เดินออกมาแล้วกล่าวว่า “อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ผู้ที่ทำให้เขารอดพ้นจากไฟนรก”
5.2 ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม รับของกำนัลจากพวกยิว มีรายงานจาก อัลบุคอรี (หมายเลข 2617) และมุสลิม (หมายเลข 2190) จากอนัส บิน มาลิก เราะฏิยัลลอฮุ อันฮู กล่าวว่า
ความว่า “แท้จริงมีผู้หญิงชาวยิวคนหนึ่ง ได้นำเนื้อแพะใส่ยาพิษมาให้แก่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จากนั้นท่านก็รับมันไปรับประทาน”
5.3 ท่านได้ให้อภัยต่อการกระทำที่ชั่วช้าของพวกเขา เนื่องจากท่านไม่ได้ห้ามการฆ่าผู้หญิงที่ใส่ยาพิษในแพะคนดังกล่าว มีระบุต่อจากหะดีษที่ผ่านมา
ความว่า “นางถูกนำมาหาท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ท่านได้ถามนางถึงเรื่องดังกล่าว นางตอบว่า ฉันต้องการที่จะฆ่าท่าน ท่านเราะสูลกล่าวว่า อัลลอฮฺไม่ต้องการทำให้เธอมีชัยในเรื่องนี้บรรดาเศาะฮาบะฮฺกล่าวว่า ให้เราฆ่านางได้หรือไม่? ท่านเราะสูลกล่าวว่า : ไม่”.
ยิ่งกว่านั้นจากหะดีษอะบีฮุร็อยเราะฮฺ ในเศาะฮีหฺอัลบุคอรี (หมายเลข 3169) แท้จริงเรื่องดังกล่าวเป็นการรู้เห็นของชาวยิวและพวกเขาเองก็ยอมรับถึง ความพยายามที่จะฆ่าท่านเราะสูลด้วยกับยาพิษ แต่ทั้งนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ไม่ได้สั่งให้แก้แค้นแทนตัวของท่านเองแต่ท่านได้มีคำสั่งให้ฆ่านางหลังจากที่เศาะฮะบะฮฺท่านหนึ่งได้เสียชีวิตเนื่องจากเขากินแพะอาบยาพิษพร้อมกับท่าน เศาะฮะบะฮฺผู้นั้นคือ บะชัร อิบนิ อัลบะรออฺ เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุและทำนองเดียวกันเมื่อ ละบีด อิบนิ อัลอะศ็อม เป็นชาวยิวได้ทำไสยศาสตร์กับท่านนบีและอัลลอฮฺทรงปกป้องท่านให้รอดพ้นจากไสยศาสตร์ ท่านไม่ได้แก้แค้นและไม่ได้สั่งให้ฆ่าเขาแต่ประการใด ยิ่งกว่านั้นยังมีปรากฏในสุนันอัลนะสาอียฺ (หมายเลข 4050) และรับรองความถูกต้องโดยเชคอัล-อัลบานีย์ จากเซด อิบนิ อัรกอม กล่าวว่า ท่านไม่ได้กล่าวเช่นนั้นกับยิว และไม่ได้เห็นสิ่งใดบนใบหน้าของท่านเลย”

5.4 ปรากฏว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยทำธุรกรรมทางการเงิน (ค้าขาย)กับชาวยิวและท่านรักษาสัญญาในการคบค้าสมาคมกับพวกเขา จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อุมัรเราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า
ความว่า “ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ให้ชาวยิวทำการเพาะปลูกในแผ่นดินคอยบัร โดยการแบ่งปันผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูก” (บันทึกโดย อัลบุคอรี หมายเลข 2165, และมุสลิม หมายเลข 1551)และจากอาอิชะฮฺ เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮา ความว่า “ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ซื้ออาหารจากชาวยิวโดยการใช้เครดิตแล้วเอาเสื้อเกราะประกันไว้” (บันทึกโดยอัลบุคอรี หมายเลข 1990, และมุสลิม หมายเลข 1603)

5.5 ในตอนแรกของการเดินทางมายังเมืองมะดีนะฮฺ ท่านนบีเห็นพ้องกับการกระทำและจารีตประเพณีของชาวยิว เป็นการสร้างสัมพันธไมตรีต่อหัวใจของพวกเขาเพื่อเชิญชวนพวกเขาสู่อิสลาม แต่หลังจากที่ท่านเห็นว่าพวกเขามีความดื้อดึง ต่อต้าน และยโสโอหัง ท่านมีคำสั่งให้ปฏิบัติที่แตกต่างและห้ามต่อการเลียนแบบพวกเขา จากอิบนิ อับบาส เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “แท้จริงท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ปล่อยผมในขณะที่พวกมุชริกแยกผมโดยที่ชาวคัมภีร์ (ยิว คริสต์) ได้ปล่อยผม และปรากฏว่าท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมชอบที่จะเห็นพ้องกับชาวคัมภีร์ ในสิ่งที่อัลลอฮฺไม่สั่งใช้แต่ประการใด ต่อจากนั้นท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้หวีผมแยก”
บันทึกโดยอัลบุคอรี (หมายเลข 3728) และมุสลิม (หมายเลข 2336)


6. เวลาสนทนาโต้ตอบกับพวกยิวท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมไม่แสดงตนว่ามีความสูงส่ง แต่ท่านกลับมีความนอบน้อม อ่อนโยน ไม่กดขี่ ข่มเหงต่อพวกเขา ตอบคำถามของพวกเขาถึงแม้ว่าพวกเขาถามเป้าหมายเพื่อการยั่วยุหรือพิพาทโต้เถียง
ความว่า “จากอิบนิ มัสอูด เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า “ระหว่างที่ฉันได้เดินพร้อมกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่สวนแห่งหนึ่ง ในขณะที่ท่านนอนตะแคงบนทางของต้นอินทผลัม ทันใดนั้น มีชาวยิวกลุ่มหนึ่งเดินผ่านมา บางส่วนของพวกเขาก็กล่าวว่า "จงถามเขาดูเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณ" พวกเขาบางคนกล่าวว่า "พวกท่านสงสัยสิ่งใดในตัวของเขาอีก เขาจะไม่ต้อนรับพวกท่านด้วยสิ่งที่พวกท่านไม่ชอบแน่" บางคนก็ตอบกลับไปว่า "จงไปถามเขาซะ" แล้วกลุ่มหนึ่งจากพวกเขาได้ลุกขึ้นไปถามท่านถึงเรื่องวิญญาณ อิบนุมัสอูดเล่าว่า ดังนั้นท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เงียบเฉยไม่ตอบโต้แต่ประการใด ฉันรู้ว่าวะฮฺยูกำลังถูกประทานมายังท่าน อิบนุมัสอูด เล่าต่อว่า ฉันได้ลุกขึ้นออกจากที่ที่ฉันยืน ดังนั้นอัลลอฮฺจึงประทานโองการลงมาว่า
ความว่า “และพวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับวิญญาณ จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) เรื่องวิญญาณนั้นเป็นเรื่องของพระผู้อภิบาลของฉัน และพวกเจ้าจะไม่ได้รับความรู้อันใด นอกจากแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น” (บันทึกโดยอัล-บุคอรี หมายเลข 4444, และมุสลิม หมายเลข 2794)

7. ท่านเคยดุอาอฺให้แก่พวกเขาให้ได้รับทางนำและให้มีสภาพที่ดี จากอะบีมูสา เราะฏิยัลลอฮฺอันฮุความว่า “ปรากฏว่าชาวยิวต่างก็กล่าวดุอาอฺขณะที่พวกเขาจามต่อหน้าท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เพื่อหวังให้นบีกล่าวดุอาอฺ (ยัรฮะกุมุลลอฮฺ หมายถึง ขออัลลอฮฺเมตตาพวกท่าน)แก่พวกเขา แต่ท่านก็ไม่กล่าวเช่นนั้น แต่กล่าวว่า (ยะฮฺดีกุมุลลอฮฺ วะยุศลิฮฺบาละกุม หมายถึงขออัลลอฮฺชี้ทางพวกท่าน และแก้ไขสถาพพวกท่าน)” (บันทึกโดย อัต-ติรมิซียฺ หมายเลข 2739 และท่านกล่าวว่า หะดีษฮะซัน เศาะฮีหฺ และได้รับรองความถูกต้องโดย เชคอัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ เศาะฮีหฺ อัตติรมิซียฺ)

8. และในทางตรงกันข้ามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ไม่ยอมให้ยิวละเมิดสิทธิของมุสลิม ท่านได้ลงโทษกับทุกคนที่ละเมิดและอธรรมต่อมุสลิม เช่น เมื่อชาวยิวจากเผ่าบะนีก็อยนุกออฺได้ทำร้ายมุสลิมะฮฺนางหนึ่งในตลาด และพวกเขาวางแผนเพื่อที่จะเปิดเอาเราะฮฺของนาง พวกเขาได้อาฆาตว่าจะฆ่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และพวกเขากล่าวว่า “โอ้มุฮัมมัดอย่าหลงตัวเองไปเลยในการที่ท่านสามารถสังหารชาวกุเรชได้ พวกเขาเป็นผู้ที่อ่อนแอไม่รู้จักการทำสงครามหากท่านได้ทำสงครามกับพวกเราท่านจะรู้ว่าพวกเรานั้นคือมนุษย์” (อ้างจาก อิบนุ ฮะญัร ใน ฟัตฮุลบารียฺ 7 / 332 ) ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ขับไล่พวกเขาออกจากเมืองมะดีนะฮฺ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนเชาวาล ปีที่ 2 ของการฮิจเราะฮฺหลังจากที่การสร้างความเดือดร้อนของกะอฺบฺ อิบนิ อัล-อัชร็อฟชาวยิวได้เพิ่มมากขึ้น เขาได้ดูถูกและเหยียดหยามต่อมุสลิมที่กล่าวไว้ในบทกวีของเขา พร้อมกันนั้นกะอฺบฺได้เดินทางไปยังมักกะฮฺเพื่อจะหว่านล้อมแกนนำของกุเรชให้ทำสงครามกับมุสลิม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้มีคำสั่งให้ฆ่าเขา (อ้างจาก บทสรุปส่วนหนึ่งจากประวัติศาสตร์ที่ยาว ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนเราะบีอุลเอาวัล ปีที่3 ของการฮิจเราะฮฺ บันทึกโดย อัลบุคอรี หมายเลข 2375 และมุสลิม หมายเลข 1801)
และเช่นเดียวกันเมื่อความพยายามที่จะฆ่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จากเผ่าบะนีอัน-นะฏีรเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นเรื่องเล่าที่แพร่หลายที่ได้บันทึกโดยบรรดานักประวัติศาสตร์ พวกเขาได้วางแผนการณ์กับชาวกุเรชเพื่อทำสงครามกับชาวมะดีนะฮฺ และพวกเขาได้ชี้แนะความลับให้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มีคำสั่งให้ขับไล่พวกเขาพ้นจากมะดีนะฮฺ เหตุการณ์เกิดขึ้นในปีที่ 4 ของการฮิจเราะฮฺ (ดูรายละเอียดใน อัลมะฆอซียฺ ของอัลวากิดียฺ1/363-370 และซีเราะฮฺ อิบนิ ฮิชาม 3/682)และสำหรับยิวเผ่ากุร็อยเซาะฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ฆ่านักรบของพวกเขาหลังจากที่พวกเขาได้บิดพลิ้วในสงครามอัลอะฮฺซาบ และพวกเขาได้เป็นพันธมิตรกับชาวกุเรชและอาหรับเผ่าต่างๆ เพื่อเป็นฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับมุสลิม และพวกเขาก็ได้ละเมิดสัญญาต่างๆเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีที่ 5 ของการฮิจเราะฮฺ (ดูรายละเอียดใน อิบนิ ฮิชาม 3 / 706)และมีรายงานมากมายว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ให้อภัยแก่ทุกคนที่รักษาสัญญาต่อพวกเขาและท่านไม่ได้เอาโทษนอกจากกับผู้ที่ร่วมกันในเรื่องการบิดพริ้ว (โปรดดูรายละเอียดใน อัซ-ซีเราะฮฺ อัน-นะบะวียะฮฺ อัศ-เศาะฮีฮะฮฺ ของ ดร.อักรอม อัล-อุมะรียฺ 1/ 316) และมีปรากฏในสนธิสัญญามะดีนะฮฺ “สำหรับยิวคือศาสนาของพวกเขา และสำหรับมุสลิมตัวของพวกเขาเองและบริวารของพวกเขาก็มีศาสนา นอกจากผู้ที่อธรรมและทำบาปก็ไม่ได้ทำอันตรายแก่ผู้ใด
นอกจากต่อตัวเองและครอบครัว”สุดท้ายเมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เห็นการบิดพลิ้วและหลอกลวงของพวกยิว อัลลอฮฺมีโองการให้คาบสมุทรอาหรับนั้นมีเพียงศาสนาแห่งเตาฮีดเท่านั้น จะไม่ให้หลงเหลือศาสนาใดนอกจากศาสนาที่พระองค์อัลลอฮฺทรงพอพระทัยเท่านั้น จากอิบนิ อับบาส เราะฏิยัลลอฮฺอันฮุมา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สั่งเสียตอนที่ท่านล้มป่วยก่อนที่จะเสียชีวิตว่าความว่า “จงขับไล่พวกมุชริกีนออกจากคาบสมุทรอาหรับ” (บันทึกโดยอัลบุคอรี หมายเลข 2888, และมุสลิม หมายเลข 1637)
วัลลอฮุ ตะอะลา อะอฺลัม
ที่มา www.islamqa.com ฟัตวาหมายเลข 84308__

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2552

กุนูตนาซิละฮฺ (กุนูตุนนะวาซิล)


الحَمْدُ لله حَمْدًا يَلِيْقُ بِجَلالِ وَجْهِهِ وَعَظِيْمِ سُلْطَانِهِ
การสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ เป็นการสรรเสริญที่คู่ควรกับความสง่างาม
แห่งพระพักตร์ของพระองค์ และความยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใดแห่งอำนาจของพระองค์
กุนูตนาซิละฮฺ
กุนูตนาซิละฮฺ (กุนูตุนนะวาซิล)
เป็นการกุนูตวิงวอนในสถานการณ์ที่เกิดปัญหากับประชาชาติอิสลาม พี่น้องมุสลิมเดือดร้อน เป็นการขอ ให้มุสลิมอยู่ในความปลอดภัย และกุนูตขอ เพื่อสาปแช่งให้เกิดความพินาศแก่ผู้อธรรม หรือคนชั่วนั้นๆ
“กุนูตุนนะวาซิล” (กุนูตวิกฤต) คือ กุนูตในสถานการณ์ที่เกิดปัญหากับประชาชาติอิสลาม เมื่อพี่น้องมุสลิมเดือดร้อน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บัญญัติให้อิมามรณรงค์ขอดุอาอฺในการละหมาดทุกวักตู (ถ้าทำได้) หรือเลือกบางวักตูก็ได้ โดยการกุนูตก่อนหรือหลังรุกัวอฺในร็อกอะฮฺสุดท้าย ขอดุอาอฺให้อัลลอฮฺช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมและลงโทษผู้อธรรม บทดุอาอฺมีดังนี้

الحَمْدُ للهِ حَمْدَاً طَيِّبَاً كَثِيْرَاً مُبَارَكَاً فِيْهِ مِلأَ السَّمَوَاتِ وَالأرْضِ وَمِلأ مَا بَيْنَهُمَا وَمِلأ مَا شِئْتَ مِنْ شَيْءٍ بَعْدُ أَهْلَ الثَّنَاءِ وَالمَجْدِ أَحَقُّ مَا قَالَ العَبْدُ وَكُلُّنَا لَكَ عَبْدٌ
การสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ เป็นการสรรเสริญที่ดีอย่างมากมาย เป็นศิริมงคลในการสรรเสริญ นั้น ซึ่งบรรดาการสรรเสริญที่เต็มท้องฟ้าทั้งหลายและเต็มแผ่นดิน และเต็มสิ่งที่อยู่ในระหว่างมันทั้งสอง และเต็มทั่วสิ่งที่พระองค์ทรงประ สงค์หลังจากนั้น พระผู้ทรงสมควรยิ่งแก่มวลการสรรเสริญ และทรงเกียรติยศ พระองค์ทรงเหมาะสมยิ่งแล้วที่บ่าวได้ พรรณาไว้ และพวกข้าพระองค์ทุกคนนั้นเป็นบ่าวของพระองค์

اللَّهُمَّ لا مَانِعَ لِمَا أَعْطَيْتَ وَلا مُعْطِيَ لِمَا مَنَعْتَ وَلا يَنْفَعُ ذَا الجَدِّ مِنْكَ الجَدُّ
โอ้อัลลอฮฺ ! ไม่มีใครจะขัดขวาง ในสิ่งที่ พระองค์ทรงประทานให้ และไม่มีใครจะให้ได้ในสิ่งที่พระองค์ทรงขัดขวาง ความยิ่งใหญ่และความมั่งคั่งจะไม่ก่อประโยชน์แก่ผู้ยิ่งใหญ่และผู้มั่งคั่งให้พ้นจากการลงโทษของพระองค์ได้เลย

اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ ، إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ ،
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอได้โปรดประทานพรแก่มุฮัมมัด และวงศ์วานของมุฮัมมัด เช่นเดียวกับที่ได้ทรง
ประทานพรแก่อิบรอฮีมและวงศ์วานของอิบรอฮีมมาแล้ว แน่แท้พระองค์เป็นผู้ทรงได้รับการสรรเสริญยิ่ง
และทรงไว้ซึ่งเกียรติอันสูงศักดิ์

اللَّهُمَّ بَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلٍ إِبْرَاهِيْمَ إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอได้โปรดประทานความศิริมงคลแด่มุฮัมมัด และวงศ์วานของมุฮัมมัด เช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ประทานความศิริมงคลแก่อิบรอฮีมและวงศ์วานของอิบรอ ฮีมมาแล้ว
แน่แท้พระองค์เป็นผู้ทรงได้รับการสรรเสริญยิ่งและทรงไว้ซึ่งเกียรติอันสูง ศักดิ์



اللَّهُمَّ أَعِزَّ الإسْلامَ وَانْصُرِ المُسْلِمِيْنَ .
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงเทิดเกียรติให้ แก่อิสลาม และช่วยเหลือสนับสนุนบรรดามุสลิมีน

اللَّهُمَّ أَذِلَّ الشِّرْكَ وَالمُشْرِكِيْنَ ، وَادْفَعْ كَيْدَ الكَائِدِيْنَ .
โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงลดเกียรติและความต่ำต้อยแก่การตั้งภาคีและบรรดาผู้ตั้งภาคีกับพระองค์
และทรงกำจัดการวางแผนชั่วร้ายของบรรดานักวางแผนที่ชั่วร้าย

وَارْفَعْ بِعِزَّتِكَ رَايَتَيِ الحَقِّ والدِّيْن
และด้วยเกียรติศักดิ์ของพระองค์ ขอพระองค์ ทรงเชิดชูสัญลักษณ์แห่งสัจธรรมและศาสนาของพระองค์

اللَّهُمَّ مَنْ أَرَادَ الإسْلامَ والمُسْلِمِيْنَ بِخَيْرٍ فَََوَفِّقْهُ لِكُلِّ خَيْرٍ ،
โอ้อัลลอฮฺ ! ผู้ใดที่ปรารถนาความดีให้แก่อิสลามและบรรดามุสลิมีน ขอพระองค์ทรงประทานความสำเร็จ
ให้แก่เขาในทุกๆความดี

وَمَنْ أَرَادَ الإسْلامَ والمُسْلِمِيْنَ بِشَرٍّ وَسُوْءٍ فَاجْعَلْ كَيْدَهُ فِيْ نَحْرِهِ وَاجْعَلْ تَدْبِيْرَهُ فِيْ تَدْمِيْرَهُ وَأَهْلِكْهُ كَمَا أَهْلَكْتَ
كُلَّ الجَبَابِرَةٍ الكَافِرِيْنَ
และผู้ใดที่ปรารถนาความชั่วร้ายและความเสียหายแก่อิสลามและบรรดามุสลิมีน ขอพระองค์ทรงทำให้การวางแผนชั่วร้ายของเขากลับไปสู่ตัวของเขา และทรงทำให้การวางแผนร้ายของเขาเป็นการทำลายเขา และนำความหายนะไปสู่เขา
เสมือนกับที่พระองค์ได้ทำลายล้างและความหายนะกับทุกๆคนที่แสดงความโอหังในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธามาก่อนแล้ว

اللَّهُمَّ انْصُرْ مَنْ نَصَرَ الدِّيْنَ ، واخْذُلْ مَنْ خَذَلَ الدِّيْنَ
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงช่วยเหลือสนับสนุนแก่ผู้ที่ช่วยเหลือสนับสนุนศาสนาของพระองค์
และทรงปราบปรามผู้ที่มุ่งร้ายต่อศาสนาของพระองค์

اللَّهُمَّ لا تَجْعَلْ لِلْكَافِرِيْنَ عَلَى المُؤْمِنِيْنَ سَبِيْلا ،
และทรงทำให้บรรดาผู้ศรัทธามีอำนาจเหนือพวกปฏิเสธศรัทธา

وَاجْعَلْ لِلْمُؤْمِنِيْنَ عَلَى الكَافِرِيْنَ سُلْطَانَاً مُبِيْنَاً
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงอย่าให้พวกปฏิเสธศรัทธามีอำนาจเหนือบรรดาผู้ศรัทธาต่อพระองค์

اللَّهُمَّ انْصُرِ المُسْتَضْعَفِيْنَ مِنَ المُؤْمِنِيْنَ فِيْ كُلِّ مَكَان
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงช่วยเหลือสนับสนุนบรรดาผู้ศรัทธาที่อ่อนแอในทุกสถานที่



اللَّهُمَّ فَرِّجْ هَمِّ المَهْمُوْمِيْنَ وَنَفِّسْ كَرْبَ المَكْرُوْبِيْنَ
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงคลี่คลายความวิตกกังวลของบรรดาผู้ที่มีความวิตกกังวล และทรงช่วยเหลือ
พวกเขาให้พ้นจากความเศร้าโศกเสียใจ

وَنَجِّ المُسْتَضْعَفِيْنَ مِنَ المُسْلِمِيْنَ فِيْ كُلِّ مَكَانٍ يَا أَرْحَمَ الرَّاحِمِيْنَ
และทรงช่วยเหลือบรรดามุสลิมีนผู้อ่อนแอในทุกสถานที่ให้พ้นจากความวิตกกังวลและความเศร้าโศกเสียใจ
โอ้พระผู้ทรงเมตตายิ่ง!

اللَّهُمَّ أَهْلِكْ أَعْدَاءَ الدِّيْنَ فَإِنَّهُمْ لا يُعْجِزُْونَكَ
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงทำลายล้างบรรดาศัตรูศาสนาของพระองค์ให้ประสบความหายนะ
เพราะพวก เขาจะไม่มีอำนาจเหนือพระองค์

الَّلهُمَّ أَهْلِك الظَّّالِمِيْنَ بِالظَّالِميْنَ وَأَخْرِجِ الْمُؤْمِنِينَ مِنْ بَيْنِ أَيْدِيْهِم سَالِمِيْن
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงทำลายล้างบรรดาผู้อธรรมด้วยบรรดาผู้อธรรมเอง และทรงให้บรรดาผู้ศรัทธา
รอดพ้นจากน้ำมือของพวกอธรรมเหล่านั้นด้วยความปลอดภัยเทอญ


اللَّهُمَّ انْصُرْ المُجَاهِدِيْنَ فِيْ أَفْغَانِسْتَانَ وَفِيْ فِلَسْطِيْنَ وَفِيْ الشِّيْشَانَ وَالفِّلِبِّيْنَ وَكِشْمِيْرَ وَفِيْ كُلِّ مَكَانٍ يَا أَرْحَمَ الرَّاحِمِيْنَ
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงช่วยเหลือสนับสนุนบรรดาผู้เสียสละในหนทางของอัลลอฮฺในอัฟกานิสถาน ในปาเลสไตน์ ในเชชเนีย ในฟิลิปปินส์ ในแคชเมียร์ และในทุกสถานที่ โอ้พระผู้ทรงเมตตายิ่ง ! (ระบุสถานที่)

اللَّهُمَّ أَنْزِلْ نَصْرَكَ وَمَدَدَكَ إِلَهَنَا إِلَهَ الحَقِّ عَلَى المُجَاهِدِيْنَ فِيْ كُلِّ مَكَان
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงประทานความช่วยเหลือและกำลังหนุนของพระองค์ให้แก่บรรดาผู้
ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺในทุกๆสถานที่ โอ้พระเจ้าของเรา ! พระเจ้าแห่งสัจธรรม ! !

اللَّهُمَّ إِنُّهُمْ ضُعَفَاءُ فَقَوِّهِمْ . وَجِيَاعٌ فَأَطْعِمْهُمْ . وَعِطَاشٌ فَاسْقِهِمْ .
โอัอัลลอฮฺ ! พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้อ่อนแอ ขอพระองค์ทรงเสริมกำลังให้พวกเขาแข็งแรง และพวกเขากำลังหิวโหย ขอพระองค์ทรงประทานปัจจัยให้พวกเขาอิ่มเอิบ และพวกเขากำลังกระหายน้ำ ขอพระองค์ทรงประทานน้ำให้พวกเขาดื่ม

وَعُرَاةٌ فَاكْسُهُمْ . وَمُسْتَضْعَفُوْنَ فَانْصُرْهُمْ
และพวกเขากำลังขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม ขอพระองค์ทรงประทานเครื่องนุ่งห่มให้แก่พวกเขา
และพวกเขากำลังอยู่ในสภาพอ่อนเพลีย ขอพระองค์ทรงประทานความช่วยเหลือแก่พวกเขา


اللَّهُمَّ إِنَّا نَسْتَنْزِلُ نَصْرَكَ الَّذِيْ نَصَرْتَ بِهِ نَبِيَّكَ وَرَسَوْلَكَ وَأَوْلِيَاءَكَ الصَّالِحِيْن
โอ้อัลลอฮฺ ! แท้จริงพวกเราขอความเอื้อเฟื้อจากความช่วยเหลือของพระองค์ ซึ่งพระองค์ได้ให้ความช่วย เหลือแก่นะบี
และร่อซูล ตลอดจนบรรดามิตรสหายทรงคุณธรรมของพระองค์มาก่อนแล้ว

اللَّهُمَّ أَنْزِلْ عَلَيْنَا نَصْرَكَ عَاجِلا غَيْرَ آَجِلٍ
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงประทานความ ช่วยเหลือของพระองค์ให้แก่พวกเราอย่างรวดเร็วโดยไม่ชักช้า

اللَّهُمَّ مَنْ كَتَبَ أَوْ تَكَلَّمَ أَوْ بَذَلَ فِيْ نُصْرَةِ هَذَا الدِّيْنِ بِكَلِمَةٍِ فَانْصُرْهُ فِيْ أَهْلِهِ وَمَالِهِ وَوَلَدِهِ وَبَلَدِهِ
โอ้อัลลอฮฺ ! ผู้ใดที่บันทึกหรือกล่าวคำพูดหรือเสียสละในการส่งเสริมให้แก่ศาสนาของพระองค์ แม้เพียงกล่าวคำพูดเดียว ขอพระองค์ทรงช่วยเหลือสนับสนุนเขาในครอบครัวของเขา และทรัพย์สินของเขา และลูกหลานของเขา และประเทศของเขา

اللَّهُمَّ مَنْ كَتَبَ أَوْ تَكَلَّمَ أَوْ بَذَلَ فِيْ عَدَاوَةِ الدِّيْنِ بِشَيْءٍ فَاقْطَعْ دَابِرَهُ ، وَأَخْرِسْ لِسَانَهُ وَشُلَّ أَرْكَانَهُ وَاجْعَلْهُ عِبْرَةً لِلْمُعْتَبِرِيْن
โอ้อัลลอฮฺ ! ผู้ใดที่บันทึกหรือกล่าวคำพูด ใดๆ หรือพยายามในการเป็นศัตรูกับศาสนาของพระองค์ ขอพระองค์ทรงกำจัดหรือถอนรากถอนโคนเขาเสีย และทรงทำให้เขาเป็นใบ้และทรงทำให้เขาเป็นอัมพาตไร้ ความสามารถ
และทรงทำให้เขาเป็นอุทธาหรณ์แก่บรรดาผู้ที่รำลึกถึงอุทธาหรณ์

اللَّهُمَّ الْعَنِ الْكَفَرَةَ الَّذِيْنَ يُكَذِّبُوْنَ رُسُلَكَ وَيُحَارِبُوْنَ أَوْلِيَاءَك
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงสาปแช่งบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ซึ่งปฏิเสธไม่เชื่อฟังบรรดาร่อซูลของพระองค์
และต่อต้านบรรดามิตรสหายผู้ทรงคุณธรรมของพระองค์

اللَّهُمَّ خُذْهُمْ أَخْذَ عَزِيْزٍِ مُقْتَدِرٍ ، وَاجْعَلْهُمْ عِبْرَةً لِمَنْ يَعْتَبِرْ
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงลงโทษพวกเขา ซึ่งการลงโทษแห่งผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงอานุภาพ
และทำให้พวกเขาเป็นบทเรียนแก่ผู้ที่พินิจพิจารณา (เพื่อเป็นบทเรียน)

اللَّهُمَّ مُنْزِلَ الكِتَابِ وَمُجْرِيَ السَّحَابِ وَهَازِمَ الأَحْزَابِ إِهْزِمْهُمْ وانْصُرْنَا عَلَيْهِمْ
โอ้อัลลอฮฺ ! พระผู้ทรงประทานคัมภีร์ และผู้ทรงให้เมฆหมอกเคลื่อนไปในท้องฟ้า พระผู้ทรงทำให้พวกพันธมิตรได้รับความปราชัย ขอพระองค์ทรงทำให้พวกมันพ่ายแพ้ และทรงทำให้พวกเราได้รับชัยชนะเหนือพวกมัน

اللَّهُمَّ انْصُرْ أَوْلِيَاءَكَ فِيْ كُلِّ مَكَانٍ . وَثَبِّتْهُمْ بِالقَوْلِ الثَّابِتِ فِيْ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَفِيْ الآخِرَة
โอ้อัลลอฮฺ ! ขอพระองค์ทรงช่วยเหลือสนับสนุนบรรดามิตรสหายผู้ทรงคุณธรรมของพระองค์ในทุกสถานที่ และทรงให้พวกเขาหนักแน่นด้วยคำกล่าวที่มั่นคงในการมีชีวิตอยู่ทั้งในโลกนี้ และในปรโลก

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ซุลฮิจญะฮฺ

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

«مَا مِنْ أَيَّامٍ الْعَمَلُ الصَّالِحُ فِيهِنَّ أَحَبُّ إِلَى اللهِ مِنْ هَذِهِ الْأَيَّامِ الْعَشْرِ، فَقَالُوا يَا رَسُولَ اللهِ وَلَا الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللهِ؟، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: وَلَا الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللهِ، إِلَّا رَجُلٌ خَرَجَ بِنَفْسِهِ وَمَالِهِ فَلَمْ يَرْجِعْ مِنْ ذَلِكَ بِشَيْءٍ»

"ไม่มีการปฏิบัติอามัลซอลิหฺวันใดที่อัลลอฮฺทรงรักยิ่งกว่าการปฏิบัติในสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺ" มีผู้ถามขึ้นมาว่า "โอ้ท่านร่อซูล! แม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ?" ท่านร่อซูลตอบว่า "แน่นอน แม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺก็ตาม ยกเว้นแต่ผู้ที่ออกญิฮาดด้วยชีวิตและทรัพย์สินของเขา จากนั้นก็มิอาจกลับมาพร้อมกับทรัพย์สินดังกล่าวนั้น" บันทึกโดย บุคอรี และติรมิซี

จากซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

ثانياً في السنة النبوية : ورد ذكر الأيام العشر من ذي الحجة في بعض أحاديث الرسول صلى الله عليه وسلم التي منها : الحديث الأول : عن ابن عباس – رضي الله عنهما – أنه قال : يقول رسول الله صلى الله عليه وسلم : " ما من أيامٍ العمل الصالح فيها أحبُّ إلى الله من هذه الأيامِ ( يعني أيامَ العشر ) . قالوا : يا رسول الله ، ولا الجهادُ في سبيل الله ؟ قال : ولا الجهادُ في سبيل الله إلا رجلٌ خرج بنفسه وماله فلم يرجعْ من ذلك بشيء " ( أبو داود ، الحديث رقم 2438 ، ص 370 .

จากการบันทึกของอิมามบุคอรียฺและอบูดาวู้ด รายงานโดยท่านอิบนุอับบาสจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีวันใดๆ การกระทำอันดีงามที่อัลลอฮฺทรงโปรดจะถูกกระทำในวันนั้นดีกว่าการกระทำสิ่งดีๆในบรรดาวันนี้(คือสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ)” ศ่อฮาบะฮฺได้กล่าวว่า “แม้กระทั่ง(ดีกว่า)การทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ” ท่านนบีตอบว่า “แม้กระทั่งการทำญิฮาด(หมายถึงจะไม่ดีกว่าการทำความดีในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ) เว้นแต่ชายคนหนึ่งออก(จากบ้าน)ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน(เพื่อทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ) และไม่มีสิ่งใดจากนั้น(ชีวิตและทรัพย์สิน)ได้กลับมาเลย”

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังกล่าวอีกว่า "ไม่มีช่วงเวลาใดที่จะยิ่งใหญ่ หรือช่วงใดที่จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺผู้สูงส่ง มากยิ่งไปกว่าช่วงสิบวันเหล่านี้ ดังนั้นท่านจงเพิ่มเติมด้วยการกล่าวตะฮฺลีล(ลา อิลาฮา อิลลัลลอฮฺ) การตักบีร(อัลลอฮุอักบัร) และกล่าวตะฮฺมีด(อัลฮัมดุลิลลาฮฺ)" มุสนัด อิมามอะฮฺมัด

เหล่านี้เป็นบางส่วนของหลักฐานที่ระบุถึงความประเสริฐของสิบวันแรกแห่งซุลฮิจญะฮฺ หากเราจะรำลึกย้อนกลับไปช่วงเวลาพิเศษแห่งรอมฎอน หลายคนเสียใจและเสียดายกับช่วงเวลาอันมีคุณค่ามหาศาลได้ผ่านไป โดยที่ตนเองมิได้กอบโกยคุณค่าเหล่านั้น และมิอาจจะคาดได้ว่าจะมีโอกาสสัมผัสกับรอมฎอนอีกครั้งหรือไม่ ขณะนี้มาถึงแล้วอีกช่วงเวลาอันประเสริฐสุด เราขอเรียกร้องเพื่อการกอบโกยโอกาสทองนี้ประกอบอิบาดะฮฺของเรา เช่น การซิกรุลลอฮฺ การละหมาด การถือศีลอด ตรวจสอบตนเอง ขออภัยโทษ สำนึกผิดเตาบัตตัว เศาะดะเกาะฮฺ (บริจาคทาน) รวมถึงการงานซอลิฮฺอื่นๆ ให้สมบูรณ์ ให้งดงาม และเพิ่มพูนมากกว่าช่วงเวลาอื่นๆ

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Ten Sicknesses of The Heart ---> 10ความอ่อนแอของจิตใจ

Ten Sicknesses of The Heart
1. You believe in the existence of Allah Ta'ala, but you do not fulfil his commands.
เราต่างเชื่อในการมีอยู่ของอัลลอฮฺตะอาลา หากแต่เราไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์อย่างสมบูรณ์
2. You say you love the Holy Prophet Mohammed (Sallallahu 'alahi wasallam), but you do not follow his sunnah (ie, his example).
เราต่างกล่าวว่า “เรารักท่านนบีมูฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วัสลัม) หากแต่เราไม่ปฏิบัติตามซุนนะ (การดำเนินชีวิต) ของท่าน
3. You Read The Qur'an but you do not put it into practice.
เราต่างอ่านอัล กุรอาน หากแต่เราไม่นำสิ่งที่มีอยู่ในนั้นมาปฏิบัติ
4. You enjoy all the benefits from Allah Ta'ala, but you are not grateful to him.
เราต่างหลงใหลในสิ่งดีงามที่เราได้รับจากอัลลอฮฺตะอาลา หากแต่เราไม่ขอบคุณในความเมตตาของพระองค์
5. You acknowledge Shaytan as your enemy, but you do not go against him.
เราต่างรู้ดีว่าชัยฎอนคือศัตรูของเรา หากแต่เราไม่ต่อสู้กับมันอย่างแท้จริง (เรายอมให้มันควบคุมชีวิตเรา)
6. You want to enter paradise, but you do not work for it.
เราต่างต้องการที่จะเข้าสู่สวนสวรรค์ หากแต่เราไม่ทำอะไรเพื่อที่จะได้สัมผัสกับมันเลย
7. You do not want to be thrown into hell-fire, but you do not try to get away (ie, do good deeds).
เราต่างไม่ต้องการที่จะถูกโยนลงไปในไฟนรก หากแต่เราไม่พยายามที่จะหลีกห่างจากมัน (เช่น การปฏิบัติความดี)
8. You believe that every living-thing will face death, but you do not prepare for it.
เราต่างเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งจะต้องพบกับความตาย หากแต่เราไม่เตรียมพร้อมกับมัน (ความตาย)
9. You gossip and find faults in others, but you forgot your own faults and mistakes.
เราต่างนินทาว่าร้าย และจับจ้องหาความผิดของผู้อื่น หากแต่เราลืมที่จะมองดูความเลวร้าย และความผิดพลาดของตัวเอง
10. You bury the dead, but you do not take a lesson from it.
เราต่างเคยฝังศพผู้ตาย (มาก่อน) หากแต่เรามิเคยตระหนัก และเรียนรู้จากมัน (ความตาย)
Source: IslamWay